
Low-Code is the Future of Application Development
Low-code platform คือเทคโนโลยีการพัฒนาซอฟต์แวร์ด้วยภาพ …

Low-Code แก้ Pain Point ขององค์กรได้อย่างไร ?



คุณสมบัติเด่นของ Mendix Low-code Platform

App Development

Cloud

Multi-experience

Artificial Intelligence

Intelligent Automation

Data Integration
Low-Code เหมาะกับองค์กรแบบไหน?

สตาร์ทอัพและธุรกิจขนาดเล็ก

องค์กรขนาดใหญ่
Case Studies ที่ Low-Code ตอบโจทย์ธุรกิจยุคใหม่

Case 1
"ปลดล็อกความสำเร็จกับโปรเจ็คสร้าง 200 แอปฯ ใน 1 ปีครึ่ง ของกลุ่มบริษัท CPF"
แต่ด้วยบริษัทที่มีขนาดใหญ่เช่นนี้ ทีม IT ของบริษัท CPF จึงต้องการเครื่องมือที่ช่วยสร้างแอปฯ จำนวนมากในเวลาอันน้อย ซึ่ง Low-Code Platform สามารถตอบโจทย์นี้ โดยมีทีมจาก TBN ทำหน้าที่เป็นเทรนเนอร์และคอยให้คำปรึกษา เพื่อให้ทีม IT ของ CPF สามารถสร้างแอปฯ ที่ตรงตามความต้องการได้อย่างรวดเร็ว
ภายในระยะเวลาเพียง 1 ปีครึ่ง สามารถผลิตแอปฯ กว่า 200 แอปฯ ซึ่ง High-Code แบบเดิมๆ ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ตอบโจทย์ให้บริษัทสามารถแข่งขันกับธุรกิจในโลกยุคใหม่และคงความเป็นที่หนึ่งในอุตสาหกรรมการเกษตรและอาหารนี้ได้

Case 2
"การได้เป็นฟันเฟืองขับเคลื่อน Digital Transformation ให้ KTC"
จากการขยายตัวของปริมาณผู้ใช้บัตรเครติด KTC เป็นจำนวนมาก บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTC มีธุรกรรมจำนวนมากขึ้นอย่างก้าวกระโดด แต่ด้วยปัญหาในการทำธุรกรรมแบบเก่าที่ต้องรองรับการให้บริการลูกค้าผ่านระบบ Call Center ซึ่งมีปริมาณมากถึงกว่า 20,000 คู่สายต่อวัน จึงต้องการพัฒนาระบบให้เป็นดิจิตัลเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างทันท่วงที
ด้วยโจทย์นี้ KTC จึงนำ Low-Code by Mendix เข้ามาออกแบบรูปแบบการทำงานใหม่โดยร่วมกัน Automate ระบบ Call Center และปรับ Workflow ให้เข้ากับการทำงานที่รวดเร็วขึ้นและธุรกรรมที่มากขึ้น และทำการเชื่อมต่อกว่า 250 APIs เพื่อตอบโจทย์ของธุรกิจ โดยผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสามารถทำให้ทีมงาน Call Center ลดเวลาการทำงานลงได้มากถึง 30% นอกจากนี้ การพัฒนาระบบดังกล่าว ยังทำให้ผู้บริหารมองเห็นข้อมูล Real Time ในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ทันทีอีกด้วย

Case 3
"TIC กับแผนเปลี่ยน Disruption ให้เป็น Transformation สู่ความเป็นผู้นำ"
โจทย์แรกที่ทางทีมเข้ามาช่วยแก้ไข คือ ความยุ่งยากของผู้บริโภคในการเลือกหา และตัดสินใจซื้อประกัน ทำให้ทีม TIC Lab ได้ข้อสรุปว่าทิศทางใหม่ของเว็ปไซต์คือการให้ความสำคัญกับ Customer Journey เป็นหลัก เพื่อสร้างช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างองค์กร และผู้บริโภคที่เข้าใจง่าย ใช้งานง่าย,โจทย์ถัดมาคือการสร้างให้ TIC เป็นศูนย์กลางของการพัฒนานวัตกรรมประกันอันดับหนึ่งของประเทศไทย โครงการ Open Insurance API จึงเริ่มต้นขึ้นมา โดยเป็นการเปิดให้ผู้สนใจเข้ามาร่วมพัฒนา Insurance Service ด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการคำนวนดอกเบี้ย การออกใบเสนอราคา หรือแม้กระทั่งกับ Utility Service อื่น ๆ ด้วยเช่นกัน เหตุผลที่ทีม TIC Lab เลือกใช้วิธีการแบบ Open Insurance API ก็เพราะว่า การ Implement API หรือ Web Service แบบเดิมใช้เวลานานเกินไป การเปิด Open Insurance API จะช่วยร่นระยะเวลาของเหล่า Developers ให้สั้นลงได้ แถมยังช่วยเปิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และเพิ่มอิสระให้แก่วงการประกันภัย พร้อมเป็นการเชื่อมต่อ TIC เข้ากับกลุ่มต่าง ๆ ทั้งลูกค้า และ partner ได้ดียิ่งขึ้น
โดยโครงการทั้งหมดถูกออกแบบมาด้วยการใช้ Low-code development จาก Mendix ที่ทำให้การพัฒนาเว็ปไซต์กลายเป็นเรื่องที่ง่ายดายมากขึ้น เพิ่มโอกาสให้แก่ developer หน้าใหม่ และลดระยะเวลาในการพัฒนาลงได้อย่างมาก ทำให้Low-code platform by Mendix เป็นส่วนผสมที่ลงตัว เพื่อการปฏิวัตินวัตกรรมในโลกยุคปัจจุบัน
เริ่มต้นกับ Mendix!
ลดความซับซ้อนของการพัฒนาแอปพลิเคชันด้วย Mendix ผู้นําด้านการพัฒนาแอพพลิเคชั่นด้วย Low-Code Platform
